วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ทำความรู้จักกับดวงตาคู่สวยของเรากันค่ะ


ดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่สำคัญและซับซ้อนที่สุดอวัยวะหนึ่งของเรา คนส่วนใหญ่รู้จักดวงตาคู่นี้ไม่มากไปกว่า ส่วนที่ทำหน้าที่ในการมองเห็น "ดวงตาเป็นหน้าต่างของเราสู่โลก" และหากเกิดปัญหากับสายตาก็จะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา ในบรรดาประสาทสัมผัสที่มนุษย์มี สายตาทำให้เราได้รับรุ้อย่างกว้างไกลและแจ่มชัดที่สุด หากไม่มีสายตาโลกของเราก็จะเล็กลง ยากที่จะคิดถึงโลกซึ่งไร้สีสันและใบหน้า ยากที่จะคิดถึงการที่ต้องใช้จินตนาการ ร่วมกับประสาทสัมผัสอื่นๆเพื่อ "สร้างภาพ" โลกรอบตัวเรา วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ "หน้าต่างหัวใจ" บานนี้กันค่ะ
การมองเห็นของดวงตา 
มีรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.2 - 2.5 ซม. บรรจุอยู่ในกระดูกเบ้าตา เพื่อป้องกันอันตราย ด้านหน้ามีเปลือกตาและขนตา ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่อดวงตา เปลือกตาจะกระพริบ เพื่อให้น้ำตาเคลือบกระจกตาอยู่เสมอ อวัยวะกลมๆ เล็กๆคู่นี้จะประกอบด้วยเนื้อเยื่อสำคัญ 3 ส่วน ทำหน้าที่แตกต่างกันและมีกล้ามเนื้อยึดอยู่ 6 มัด สำหรับช่วยให้ดวงตาทั้งสอง สามารถทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลา




ส่วนประกอบหลักในการมองเห็น1. กระจกตา ( Cornea)
มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับ การหักเหแสงที่ผ่านเข้าไปในลูกตา
2. เลนส์ตา หรือแก้วตา (Crystalline lens)
ทำหน้าที่รวม แสง (Focus) เพื่อให้ไปตกบนจอประสาทตา
3. จอ ประสาทตาหรือจอรับภาพ (Retina)
 ทำหน้าที่ เป็นตัวรับภาพคล้ายกับฟิล์มในกล้องถ่ายรูป
ตามองเห็นได้จากขั้นตอนดังต่อไปนี้แสงผ่านไปที่กระจก ตา ( Cornea ) เป็นส่วนที่ใสจากกระจกตา แสงผ่านไปที่รูม่านตา (Pupil) มีสีต่างกันตามเชื้อชาติ บ้างก็มีสีน้ำตาล ดำ ฟ้า เขียว เทา ทั้งนี้ขึ้นกับเม็ดสี (Melamin Pigment) ของคนๆ นั้น ม่านตาจะทำหน้าที่ในการปรับปริมาณของแสงเข้าไปในดวงตา เห็นได้ชัดว่า ในตอนกลางวันหรือเมื่อมองแสงจ้า รูม่านตาจะมีขนาดเล็ก และขยายใหญ่เมื่ออยู่ในที่มืด หลังม่านตา แสงจะไปที่เลนส์นัยตาหรือเลนส์แก้วตา (Lens) เลนส์จะทำหน้าที่ในการรวมแสงมาจากภายนอกให้โฟกัสที่กระจกตา เลนส์แก้วตาจะมีความใสมากเมื่ออายุน้อย และจะขุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ความผิดปกติที่พบบ่อยๆ คือ ต้อกระจก ซึ่งก็คือการขุ่นของเลนส์แก้วตานั่นเอง ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอันหนึ่งในผู้ใหญ่คือ ในคนอายุเกิน 40 ปี เลนส์จะลดความยืดหยุ่น ทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือตัวเล็กๆ ได้ ต้องอาศัยแว่นอ่านหนังสือที่เรียกว่า "สายตายาว" หรือสายตาคนแก่ ส่วนหลังเลนส์เป็นน้ำวุ้นใสๆ บรรจุอยู่เรียกว่า "น้ำวุ้นตา" (Vitreous Humor) ทำหน้าที่ช่วยในการหักเหของแสง ในคนสุงอายุหรือคนที่มีสายตาสั้นมากๆ จะมีการเสื่อมของน้ำวุ้นตานี้ ทำให้บางครั้งจะเห็นจุดดำคล้ายยุงหรือแมลงลอยไปมาในขณะที่มองดูวัตถุสีขาว เมื่อแสงผ่านจุดนี้ก็จะตรงไปสิ้นสุดที่จอรับภาพ (Retina) ซึ่งเป็นส่วนของประสาทตานับล้านเส้น เป็นส่วนที่จะแปลงภาพที่มองเห็น ภาพที่ปรากฏขึ้นจะเป็นภาพหัวกลับและประสาทตา (Optic Nerve) จะส่งภาพไปที่สมองและคนก็จะเห็นภาพในขณะนั้นว่าชัดหรือไม่ชัดอย่างไร

ขั้นตอนการทำงานของตาทำให้เกิดลักษณะต่างๆดังนี้• ถ้าแสงผ่านเข้าไปในตาแล้ว รวมแสงที่จอรับภาพพอดีเราเรียกลักษณะนี้ว่า สายตาปกติ (EMMERTROPIA)
• ถ้าแสงผ่านเข้าไปในตาแล้วรวมแสง ก่อนหรือหลังจอรับภาพพอดี เราเรียกลักษณะนี้ว่า สายตาผิดปกติ (AMERTROPIA)




สายตาผิดปกติคือลักษณะที่ การมองเห็นมีปัญหาเกิดขึ้น (Refractive error) ซึ่งแยกได้หลายประเภทดังนี้


สายตาสั้น (Myopia)คือภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุ มีการหักเหและโฟกัสเกิดขึ้นก่อนที่จะถึงจอประสาทตา (retina) ทำให้การมองเห็นภาพในระยะไกลไม่ชัดเจน


สายตายาว (Hyperopiaหรือ Hypermetropia)หมายถึงภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการรวมตัว หรือ Focus เลยตำแหน่งของจอประสาทตาไป ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนทั้งใกล้ไกล 


สายตาเอียง (Astigmatism)หมายถึงภาวะที่การรวม ตัวของแสง (focus) ที่ตกบนจอประสาทตามีมากกว่า 1 จุด ทำให้การมองเห็นเป็นภาพซ้อน (Double vision) 


สายตาคนสูงอายุ (Presbyopia)สายตาประเภทนี้ถือ ว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดกับทุกคนเมื่อมีอายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น: