วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ทำความรู้จักกับดวงตาคู่สวยของเรากันค่ะ


ดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่สำคัญและซับซ้อนที่สุดอวัยวะหนึ่งของเรา คนส่วนใหญ่รู้จักดวงตาคู่นี้ไม่มากไปกว่า ส่วนที่ทำหน้าที่ในการมองเห็น "ดวงตาเป็นหน้าต่างของเราสู่โลก" และหากเกิดปัญหากับสายตาก็จะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา ในบรรดาประสาทสัมผัสที่มนุษย์มี สายตาทำให้เราได้รับรุ้อย่างกว้างไกลและแจ่มชัดที่สุด หากไม่มีสายตาโลกของเราก็จะเล็กลง ยากที่จะคิดถึงโลกซึ่งไร้สีสันและใบหน้า ยากที่จะคิดถึงการที่ต้องใช้จินตนาการ ร่วมกับประสาทสัมผัสอื่นๆเพื่อ "สร้างภาพ" โลกรอบตัวเรา วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ "หน้าต่างหัวใจ" บานนี้กันค่ะ
การมองเห็นของดวงตา 
มีรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.2 - 2.5 ซม. บรรจุอยู่ในกระดูกเบ้าตา เพื่อป้องกันอันตราย ด้านหน้ามีเปลือกตาและขนตา ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่อดวงตา เปลือกตาจะกระพริบ เพื่อให้น้ำตาเคลือบกระจกตาอยู่เสมอ อวัยวะกลมๆ เล็กๆคู่นี้จะประกอบด้วยเนื้อเยื่อสำคัญ 3 ส่วน ทำหน้าที่แตกต่างกันและมีกล้ามเนื้อยึดอยู่ 6 มัด สำหรับช่วยให้ดวงตาทั้งสอง สามารถทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลา




ส่วนประกอบหลักในการมองเห็น1. กระจกตา ( Cornea)
มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับ การหักเหแสงที่ผ่านเข้าไปในลูกตา
2. เลนส์ตา หรือแก้วตา (Crystalline lens)
ทำหน้าที่รวม แสง (Focus) เพื่อให้ไปตกบนจอประสาทตา
3. จอ ประสาทตาหรือจอรับภาพ (Retina)
 ทำหน้าที่ เป็นตัวรับภาพคล้ายกับฟิล์มในกล้องถ่ายรูป
ตามองเห็นได้จากขั้นตอนดังต่อไปนี้แสงผ่านไปที่กระจก ตา ( Cornea ) เป็นส่วนที่ใสจากกระจกตา แสงผ่านไปที่รูม่านตา (Pupil) มีสีต่างกันตามเชื้อชาติ บ้างก็มีสีน้ำตาล ดำ ฟ้า เขียว เทา ทั้งนี้ขึ้นกับเม็ดสี (Melamin Pigment) ของคนๆ นั้น ม่านตาจะทำหน้าที่ในการปรับปริมาณของแสงเข้าไปในดวงตา เห็นได้ชัดว่า ในตอนกลางวันหรือเมื่อมองแสงจ้า รูม่านตาจะมีขนาดเล็ก และขยายใหญ่เมื่ออยู่ในที่มืด หลังม่านตา แสงจะไปที่เลนส์นัยตาหรือเลนส์แก้วตา (Lens) เลนส์จะทำหน้าที่ในการรวมแสงมาจากภายนอกให้โฟกัสที่กระจกตา เลนส์แก้วตาจะมีความใสมากเมื่ออายุน้อย และจะขุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ความผิดปกติที่พบบ่อยๆ คือ ต้อกระจก ซึ่งก็คือการขุ่นของเลนส์แก้วตานั่นเอง ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอันหนึ่งในผู้ใหญ่คือ ในคนอายุเกิน 40 ปี เลนส์จะลดความยืดหยุ่น ทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือตัวเล็กๆ ได้ ต้องอาศัยแว่นอ่านหนังสือที่เรียกว่า "สายตายาว" หรือสายตาคนแก่ ส่วนหลังเลนส์เป็นน้ำวุ้นใสๆ บรรจุอยู่เรียกว่า "น้ำวุ้นตา" (Vitreous Humor) ทำหน้าที่ช่วยในการหักเหของแสง ในคนสุงอายุหรือคนที่มีสายตาสั้นมากๆ จะมีการเสื่อมของน้ำวุ้นตานี้ ทำให้บางครั้งจะเห็นจุดดำคล้ายยุงหรือแมลงลอยไปมาในขณะที่มองดูวัตถุสีขาว เมื่อแสงผ่านจุดนี้ก็จะตรงไปสิ้นสุดที่จอรับภาพ (Retina) ซึ่งเป็นส่วนของประสาทตานับล้านเส้น เป็นส่วนที่จะแปลงภาพที่มองเห็น ภาพที่ปรากฏขึ้นจะเป็นภาพหัวกลับและประสาทตา (Optic Nerve) จะส่งภาพไปที่สมองและคนก็จะเห็นภาพในขณะนั้นว่าชัดหรือไม่ชัดอย่างไร

ขั้นตอนการทำงานของตาทำให้เกิดลักษณะต่างๆดังนี้• ถ้าแสงผ่านเข้าไปในตาแล้ว รวมแสงที่จอรับภาพพอดีเราเรียกลักษณะนี้ว่า สายตาปกติ (EMMERTROPIA)
• ถ้าแสงผ่านเข้าไปในตาแล้วรวมแสง ก่อนหรือหลังจอรับภาพพอดี เราเรียกลักษณะนี้ว่า สายตาผิดปกติ (AMERTROPIA)




สายตาผิดปกติคือลักษณะที่ การมองเห็นมีปัญหาเกิดขึ้น (Refractive error) ซึ่งแยกได้หลายประเภทดังนี้


สายตาสั้น (Myopia)คือภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุ มีการหักเหและโฟกัสเกิดขึ้นก่อนที่จะถึงจอประสาทตา (retina) ทำให้การมองเห็นภาพในระยะไกลไม่ชัดเจน


สายตายาว (Hyperopiaหรือ Hypermetropia)หมายถึงภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการรวมตัว หรือ Focus เลยตำแหน่งของจอประสาทตาไป ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนทั้งใกล้ไกล 


สายตาเอียง (Astigmatism)หมายถึงภาวะที่การรวม ตัวของแสง (focus) ที่ตกบนจอประสาทตามีมากกว่า 1 จุด ทำให้การมองเห็นเป็นภาพซ้อน (Double vision) 


สายตาคนสูงอายุ (Presbyopia)สายตาประเภทนี้ถือ ว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดกับทุกคนเมื่อมีอายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป

ส่วนประกอบของดวงตา

 นัยน์ตา หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ตามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ

ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่

1.คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
2.ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
3.หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตาและหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
4.ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้

ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่าลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา นัยน์ตาของคน มีลักษณะกลมอยู่ในเบ้าตา มีส่วนประกอบดังนี้


     1.ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะ  รบกวน การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
    2.กระจกตา (Cornea) เป็นเนื้อเยื่อโปร่งใสอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา กระจกตาทำหน้าที่รับและให้แสงผ่านเข้าไปสู่ภายใน
    3.ตาดำ คือส่วนที่เป็น ม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์ เป็นส่วนที่เป็นสีของนัยน์ตา ซึ่งอาจมีสีดำ สีน้ำตาลหรือสีฟ้า ตามเชื้อชาติ คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะที่จะผ่านไปสู่เลนส์ตา ม่านตาสามารถเปิดกว้างมากน้อยตามความสว่างของแสง ถ้าแสงสว่างมากม่านตาจะเปิดน้อย แสงสว่างน้อยม่านตาจะเปิดกว้างซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา(Pupil)
    4.พิวพิล (Pupil) เป็นสีดำอยู่ตรงกลางนัยน์ตา ซึ่่งเรียกว่า รูม่านตา พิวพิล ทำหน้าที่เป็นช่องให้แสงผ่านไปสู่เลนส์ตา
    5.แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดา มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ เป็นเลนส์นูนที่สามารถยืดหยุ่นได้เนื่องจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตา เลนส์ตาทำหน้าที่โฟกัสภาพให้ไปตกบนเรตินา
     6.จอตา หรือฉากตา (Ratina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มัลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าทั่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา ซึ่งทอดทะลุออกทาง เป็นเยื่อชั้นในสุด ทำหน้าที่เป็นจอรับภาพ จอตาประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือเซลล์รูปแท่ง (Rod cell) กับเซลล์รูปกรวย (Cone cell)
       การทำงานของเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปแท่งทำหน้าที่รับแสงทำให้มองเห็นรูปร่างของวัตถุต่างๆ ได้
       การทำงานของเซลล์รูปกรวย เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่รับสีทำให้มองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ เซลล์รูปกรวยจะทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างมาก
   7. โฟเวีย (Fovea) หรือจุดดวงเหลือง เป็นแอ่งเล็กๆ บริเวณจอตา เป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นที่สุด จึงเป็นบริเวณที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด
   8. จุดบอดแสง (Blind spot) เป็นบริเวณที่เส้นประสาทและเส้นเลือดผ่านเข้าสู่นัยน์ตาไม่มี เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยเลย ดังนั้นถ้าแสงตกบริเวณนี้เราจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นเลย
   
       วิธีหาจุดบอดแสง
       1) ใช้มือซ้ายถือกระดาษที่มีเครื่องหมายสีเหลี่ยมทางซ้ายและกากบาททางขวา
       2) เหยียดแขนออกไปจนสุด
       3) ใช้มือขวาปิดตาขวา
       4) เพ่งดูกากบาทด้วยตาซ้าย โดยไม่ชำเลืองดูเครื่องหมายสี่เหลี่ยม
       5) เลื่อนกระดาษให้ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ สังเกตเครื่องหมายว่าเปลี่ยนแปลงหรือไ

รูม่านตาคืออะไร เกี่ยวอะไรกับการใส่คอนแทคเลนส์

   ขนาดของรูม่านตาในคนปกติ  จะอยู่ราว 3-4 มม.  ดังรูปที่ 1  และจะมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อแสงคือมีขนาดหดเล็กลงเมื่อถูกกับแสงสว่างจ้า ในคนที่ใช้สารเสพติด  ผลการออกฤทธิ์ของสารเสพติดจะทำให้ขนาดของรูม่านตามีความแตกต่างไปจากปกติและมีลักษณะเป็น Nonreactive pupils คือไม่เปลี่ยนแปลงขนาดเมื่อถูกกับแสงสว่างจ้า
 
                                                     
                                                 รูปที่ 1  ลักษณะของรูม่านตา
                    การสังเกตขนาดของรูม่านตาสามารถนำใช้ประโยชน์ในการบ่งชี้การใช้สารเสพติดได้ดังนี้    
                 รูม่านตาขยาย (dilated pupils)  หมายถึงขนาดของรูม่านตาที่ขยายใหญ่ราว 6 - 8 มม. (ดังรูปที่ 2)  สามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลผู้นั้นอยู่ภายใต้ฤทธิ์ของโคเคน แอมเฟตามีน สารหลอนประสาท  เอกซ์ตาซี่ หรือสารกระตุ้นประสาทอื่น
                                                 
                                           รูปที่ 2    รูม่านตาขยาย
                 รูม่านตาหดตัว (pupils constrict)  หมายถึงขนาดของรูม่านตาที่หดเล็กราว  1 - 2  มม.       สามารถบ่งชี้ว่าบุคคลผู้นั้นอยู่ภายใต้ฤทธิ์ของโอปิเอตหรือโอปิออยด์ เช่น  เฮโรอีน  ฝิ่น  มอร์ฟีน  เมทาโดนหรือสารกดประสาทอื่น   กรณีที่ได้รับยากลุ่มนี้เกินขนาดจะมีขนาดม่านตาหดเล็กลงมากเท่ารูเข็ม (pinpoint pupils)  อย่างชัดเจน  (ดังรูปที่ 3)
                                             
                                                       
                                            รูปที่ 3    รูม่านตาหดเล็กลงเท่ารูเข็ม
                                 
               ในการถอนพิษยาผู้ติดสารเสพติดประเภทฝิ่นและเฮโรอีนนั้นจะให้ยาเสพติดเพื่อระงับอาการขาดยาที่เกิดจากฝิ่นและเฮโรอีน โดยให้ทิงเจอร์ฝิ่นถอนพิษยาผู้ติดฝิ่นและเมทาโดนในการถอนพิษยาผู้ติดเฮโรอีน     การสังเกตขนาดรูม่านตามีประโยชน์มากใช้ในการประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยาและการเฝ้าระวังภาวะยาเกินขนาดของยาทิงเจอร์ฝิ่นและเมทาโดนซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการถอนพิษยา
               จะเห็นได้ว่า  ขนาดของรูม่านตามีประโยชน์ในการบ่งชี้ว่าคนผู้นั้นอยู่ภายใต้ฤทธิ์ของยาเสพติดประเภทใด    หากต้องการรายละเอียดและดูรูปภาพประกอบมากขึ้น  ให้ผู้สนใจเข้าไปดูได้ในเวปไซต์  www.ni-cor.com/nicorsignsandsymptomsofalcoholismanddrugsaddiction.html    แต่อย่างไรก็ตามการสังเกตขนาดของรูม่านตาสามารถบ่งชี้ถึงการใช้สารเสพติดเท่านั้น   การวินิจฉัยการติดยาเสพติดยังคงต้องอาศัยการตรวจสภาพร่างกายทางคลินิกอื่นๆ ร่วมกับข้อมูลประวัติการเสพยาเสพติดของผู้ป่วยด้วย

แล้วทีนี้มันเกี่ยวข้องอะไรกับการใส่คอนแทคเลนส์สีหรือบิ๊กอายหนะหรอคะ คนเราแต่ละคนขนาดรูม่านตาจะแตกต่างกันเล็กน้อย คนที่รูม่านตาใหญ่ ควรเลือกใส่เลนส์ที่มีช่องว่างตรงกลางเยอะค่ะ เช่นรุ่นSeeshell,Eo เพื่อที่จะได้มองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน รวมถึงคนที่ต้องใส่คอนแทคเลนส์ขับรถหรือมองตอนกลางคืน รูม่านตาเราจะขยายตัว เพื่อให้รับแสงได้มากขึ้นแต่หากเราใส่เลนส์ที่ชองตรงกลางเล็ก ก็ทำให้เห็นภาพเบลอๆได้ค่ะ 

วิธีการเลือกคอนแทคเลนส์ค่ะ

สำหรับวิธีการเลือกคอนแทคเลนส์นั้น ในครั้งแรกที่ทุกท่านจะลองใส่คอนแทคเลนส์ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม ความแบ๊ว หรือเพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตเรื่องจากปัญหาสายตา ควรที่จะไปพบจักษุแพทย์ดูสักครั้งหนึ่งก่อนค่ะ เพราะว่าจักษุแพทย์จะได้วัดค่าสายตา B.C. DIA. CYL AXIS คุณภาพและปริมาณของน้ำตา รวมถึงโรคของตาที่อาจยังไม่แสดงอาการ etc. แล้วจะได้แนะนำคอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับดวงตาของท่านให้ค่ะ เพราะ ถ้าใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสมกับดวงตาเนี่ยสามารถทำให้เกิดปัญหาตามมาได้หลากหลายเลยค่ะ เช่น ใส่คอนแทคเลนส์ที่B.C.น้อยเกินไป ก็จะทำให้ดวงตาของท่านถูกบีบรัด จนเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก หรือทำให้ความดันในดวงตาเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเป็นโรคต้อชนิดต่างๆขึ้นมาได้ หรือB.C.ที่มากเกินไป ก็จะทำให้ใส่คอนแทคเลนส์แป๊บๆก็หลุดแป๊บๆก็เลื่อน ลมพัดหน่อยหรือกระพริบตาหน่อยก็ปลิวไปอะไรแบบนี้ค่ะ หรือว่าถ้าใสคอนแทคเลนส์ที่มีDIA.มากเกินไปก็จะทำให้ออกซิเจนไหลผ่านเข้าสู่ดวงตาน้อยลง ก็เป็นปัญหาได้อีกเช่นกัน

ดังนั้นหลักในการเลือกคอนแทคเลนส์แบบง่ายๆคือ
1.มีDIA.ที่ไม่ใหญ่จนเกินไปโดยปกติจะอยู่ที่ 14.0-14.5

2.B.C.ที่เหมาะสมพอดีกับดวงตาของเรา

3.มีค่าอมน้ำ(water content)ในเปอร์เซ็นต์สูง เพราะค่าอมน้ำเนี่ย หมายถึงการที่คอนแลนส์สามารถอุ้มน้ำได้เท่าไหร่และยอมให้ออกซิเจนไหลผ่านได้แค่ไหน ซึ่งยื่งมากก็จะลดโอกาสตาแห้งหรือระคายเคืองตาลงไปได้ค่ะ
- High water ยอมให้ Oxygen ผ่านได้ดี ใส่สบายตาและใส่ได้นาน
- Low water ยอมให้ Oxygen ผ่านได้น้อย ความสบายตาลดลง และใส่ได้ไม่นาน 
แต่ว่าสิ่งที่ช่วยลดอาการตาแห้งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าอมน้ำอย่างเดียวนะคะ วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ก็มีส่วนค่ะ ว่าทำให้น้ำระเหยไปได้ไวแค่ไหน เพราะก็มีนะคะที่ค่าอมน้ำสูงมากๆแต่วัสดุเนี่ยทำให้น้ำระเหยออกไปได้เร็วตาเราจึงแห้งระหว่างวันค่ะ (เพราะฉะนั้นจึงมีบางคนบอกว่ายี่ห้อAอมน้ำ 60% แต่ทำไมใส่แล้วไม่สบายตาเท่ายี่ห้อBที่อมน้ำแค่ 40 % มันมีสาเหตุมาจากวัสดุนี่แหละค่ะ)

4.มีวัสดุที่เหมาะสม(Material) ถ้าหากท่านแพ้วัสดุตัวใดที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์ก็ควรที่จดเอาไว้นะคะ เพราะถ้าคราวหน้าเราจะเปลี่ยนยี่ห้อจะได้ดูว่าไม่มีวัสดุที่เราแพ้ค่ะ (อาการแพ้ก็คือใส่แล้ว เจ็บตา ระคายเคืองตา มีขี้ตาออกมามากกว่าปกติ ตาแฉะ มองภาพไม่ชัด etc.)
ซึ่งHydroxyethyl methacrylate ( HEMA ) เป็นสารชนิดแรกที่นำมาผลิต Soft Cont Lens 
- สามารถอมน้ำได้ตั้งแต่ 38 %ขึ้นไป , นิ่มใส่สบายและใส่ได้นาน
- ยอมให้ Oxygen ผ่านได้ดี ปัจจุบันคอนเลนส์ที่นิยมใช้กัน จะผลิตด้วยเนื้อวัสดุที่เป็น HEMA หรือ Polymacon ,Methafilcon Aและอีกหลากหลายเลยค่ะต้องดูกันแล้วจดตัวที่เราแพ้ไว้ด้วยนะคะ 

5.มีกรรมวิธีการผลิตที่เหมาะสมซึ่งตอนนี้เท่าที่ทราบมี 4 แบบค่ะ

1. SPIN CAST ( ระบบปั่น เป็นระบบเดิม ) 
ข้อดี 
- ผิวเรียบใส่สบาย 
- ต้นทุนการผลิตต่ำ 
ข้อเสีย 
- พับ และฉีกขาดง่าย
- ผลิตโค้งได้น้อย 
- ใช้เวลานานในการผลิตต่อชิ้น

2. LATHE CUT ( ระบบเจียระไน เป็นระบบที่ทันสมัย ) 
ข้อดี 
- ชิ้นงานละเอียดได้มาตรฐาน 
- เกาะตาดำได้ดี
- พับและฉีกขาดยาก 
- ผลิตได้หลายโค้ง เหมาะสำหรับดวงตาทุกขนาด 
ข้อเสีย
- ต้นทุนการผลิตสูง

3. CAST MOULDED ( ระบบปั๊ม ) 
ข้อดี 
- ชิ้นงานละเอียด 
- ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน 
ข้อเสีย 
- ต้นทุนการผลิตสูง 

4.Sandwish Method (ระบบสอดไส้) ใช้กับคอนแทคเลนส์สี
ข้อดี
- ชิ้นงานละเอียด
- ไม่มีโอกาสที่สีของคอนแทคเลนส์จะหลุดออกมาติดกับดวงตา
ข้อเสีย
- สีของเลนส์ไม่สม่ำเสมอ

เพราะฉะนั้นบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรืออเมริกา ท่านจะไม่สามารถซื้อคอนแทคเลนส์ด้วยตัวเองยกเว้นว่าจะมีใบสั่งจากจักษุแพทย์หรือมีประกันสังคมอะค่ะ แต่ของประเทศไทยสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แล้วเกิดปัญหาทีก็ยุ่งเลยอะค่ะทีนี้ ดังนั้นไปพบจักษุแพทย์ก่อนลองใส่นะคะ

วิธีล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์


วิธีล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์



 สำหรับเพื่อนๆที่ใส่คอนแทคเลนส์ โดยเฉพาะเลนส์ที่ใส่เกินหนึ่งเดือนนะคะ เนเน่แนะนำให้ถูเลนส์แบบที่แนะนำด้านล่างนี้ทุกวันนะคะ ถ้าไม่ไหวจริงก็สักสามวันครั้งก็ยังดีจ้ะ เพราะว่ามันจะช่วยยืดอายุให้คอนแทคเลนส์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งทำให้ใส่คอนแทคเลนส์ได้สบายตาอีกตะหากหละ


1.ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าที่ไม่มีขุยหรือกระดาษทิชชูเนื้อเหนียวๆ ทุกครั้ง


2.วางคอนแทคเลนส์(ทีละข้างนะจ้ะ)ลงบนฝ่ามือ หยดน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์หรือสบู่ถูเลนส์ 3-4 หยด ลงบนคอนแทคเลนส์ ใช้นิ้ว ถูขึ้นลงเบาๆ(เลนส์จะได้ไม่ขาดง่าย) ทั้งสองด้านๆละประมาณ 10 วินาที จนสะอาดหมดคราบสกปรก


3.ฉีดล้าง คอนแทคเลนส์ทั้งสองด้านด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์(เพื่อความประหยัดสามารถใช้ normal saline น้ำเกลือล้างแผลขวดเขียวๆหาซื้อได้ตามร้านขายยานะจ้ะ) ล้างคอนแทคเลนส์เป็นเวลาสัก 5 วินาที


4.แช่คอนแทคเลนส์ ในน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์(เทน้ำยาไว้สัก3/4ของตลับนะจ้ะ) เพื่อฆ่าเชื้อโรค อย่างน้อย 4 ชั่วโมง หรือทิ้งไว้ข้ามคืน


5.ปิดฝาแช่ตลับคอนแทคเลนส์ให้แน่น


ขอขอบคุณเอกสารจากBaush&Lombนะคะ 

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สาระน่ารู้เกี่ยวกับคอนแทคเลนส์

ความหมายของคอนแทคเลนส์

เลนส์สัมผัสที่ใช้แก้ไขปัญหาสายตา วางที่กระจกตา (Cornea ) และครอบคลุมถึงตาขาวบางส่วน (Soft Contact Lens)



















ชนิดของคอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์มี 2 ชนิด แบ่งตามเนื้อวัสดุที่ผลิต
1. RGP CL ( Rigid gas permeable )
2. SCL ( Soft Contact Lens )

RGP CONTACT LENS
- ลักษณะแข็งและหนา รูปร่างคงที่
- ขนาดเล็กกว่าตาดำ วางที่กระจกตา
- ออกซิเจนซึมผ่านได้น้อย
ข้อดี
- การถอดและใส่ง่าย
- ฉีกขาดยาก และคงทนต่อการขูดขีด
- ให้ภาพคมชัดกว่า เหมาะสำหรับสายตาเอียง
- สกปรกยาก อายุการใช้งานนาน 5 – 7 ปี
ข้อเสีย
- ใส่ไม่สบายตา ปรับตานาน
- มีโอกาสหลุดง่าย แตกหักง่าย
- ใส่นาน ๆ จะทำให้กระจกตาเสียรูปทรง ไม่เป็นที่นิยมใช้
- ไม่ค่อยเป็นที่นิยม

SOFT CONTACT LENS
- มีความนิ่มและบาง ยืดหยุ่นได้
- ทำจากซิลิโคนชนิด HEMA สามารถอมน้ำได้ ออกซิเจนซึมผ่านได้ดี
- เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
ข้อดี
- ใส่สบายตา ปรับตาง่ายกว่า RGP
- ไม่หลุดง่าย ใส่เล่นกีฬาได้ดี
- ใส่ได้นาน
ข้อเสีย
- สกปรกง่าย ดูแลยาก
- อายุการใช้งานสั้นประมาณ 1 – 2 ปี

ข้อดีของคอนแทคเลนส์เมื่อเปรียบเทียบกับแว่นตา
1. มีมุมมองมากกว่าแว่นตา
2. ขนาดวัตถุใกล้เคียงความจริง เฉพาะสายตาสูง ๆ
3. เพิ่มความสวยงาม เสริมบุคลิก
4. ใส่เล่นกีฬา สะดวก ปลอดภัย
5. ไม่มีเงาสะท้อนที่ขอบเลนส์
6. ไม่มีรอยตำหนิบนใบหน้า
7. เลือกใส่แว่นกันแดดได้ตามพอใจ

ข้อจำกัดของคอนแทคเลนส์
1. ช่วงแรกที่ฝึกใส่จะรู้สึกยุ่งยาก และระคายเคืองตา
2. ใช้เวลาในการใส่ – ถอดนานในระยะแรกที่ฝึกใช้
3. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์
4. ไม่สามารถใช้ได้กับสายตาปริซึม
5. ตาอักเสบได้ ถ้ารักษาความสะอาดไม่ดี
6. ฉีกขาดง่าย เพราะเนื้อเลนส์จะนิ่มและบาง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
7. มีโอกาสแพ้น้ำยา แพ้เนื้อวัสดุได้

ประเภทของคอนแทคเลนส์ แบ่งตามอายุการใช้งาน
SOFT CONTACT LENS แบ่งตามการใช้งานได้ 2 ประเภท
1. รุ่นถาวร ( Conventional ) อายุการใช้งาน 1-2 ปี
2. รุ่นใช้แล้วทิ้ง ( Disposable ) อายุการใช้งานสั้น เช่นรายวันและรายเดือน

รุ่นถาวร ( Conventional ) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด แบ่งตามปริมาณการอมน้ำและความหนา

1. Daily Wear
- เป็นรุ่นที่ใส่ถอดทุกวัน ไม่สามารถใส่นอนได้
- ใส่ได้นานถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน
- อมน้ำน้อย 0 – 38%

2. Flexible Wear
- ใส่ต่อเนื่อง 1 – 2 วัน ต่อสัปดาห์
- อมน้ำปานกลาง 39 – 59%
- คอนแทคเลนส์นิ่มใส่สบายตาและใส่ได้นานขึ้น

3. Extended Wear
- ใส่ต่อเนื่องได้ 2 – 3 วัน ต่อสัปดาห์
- อมน้ำมากถึง 60% ขึ้นไป
- เนื้อเลนส์นิ่มใส่สบายตา แต่จะพับติดกันง่ายและใส่ยาก

รุ่นใช้แล้วทิ้ง ( Disposable )
- ใส่ต่อเนื่องได้ 1 – 2 วัน / สัปดาห์
- อายุการใช้งานสั้น ทำให้ผู้ใช้ ได้ใส่เลนส์ที่สะอาดอยู่เสมอ Disposable มี 3 ชนิด ดังนี้ แบ่งตามอายุการใช้งาน

1. รายวัน ( ONE DAY / 2 DAY ) อายุการใช้งาน 1 –2 วัน เช่น DUNA DAY 2 DAY ,Acuvue 1 day ,Proclear 1 day etc.
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการแพ้น้ำยา
- ไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์

2. รายสัปดาห์ ( WEEKLY ) อายุการใช้งาน 2 สัปดาห์ ( 14 วัน ) เช่น DUNA VISION 2 ,Acuvue 2, Surevue etc.


3. รายเดือน ( MONTHLY ) อายุการใช้งาน 30 วัน ( 1 เดือน ) เช่น DUNA COMFORT 2 ,Focus Mountly ,Maxim ,Freshlook etc.

ผู้ที่เหมาะสมที่จะใช้คอนแทคเลนส์

1. ผู้ที่มีปัญหาสายตา
- สายตาสั้น
- สายตาเอียง
- สายตายาว
- สายตาสูงอายุ
2. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพดี
3. ผู้ผ่านการผ่าตัดต้อกระจก กรณีไม่ได้ใส่เลนส์เทียม
4. ผู้ที่ต้องการเพิ่มความสวยงามให้กับดวงตา แต่สายตาปกติ

ผู้ที่ไม่เหมาะสมจะใช้คอนแทคเลนส์
1. ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- โรคภูมิแพ้
- โรคไซนัส เพราะจะทำให้ใส่คอนแทคเลนส์ไม่สบายตาและไม่ชัดได้ รวมถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
2. ผู้ที่มีสุขภาพตาไม่ดี
- เป็นต้อลม , ต้อเนื้อ , ตาแดง
- กระจกตาไม่ไวต่อความรู้สึก
- ตาแห้ง , กระพริบตาครึ่งตา
3. ผู้ที่ทำงานที่มีมลภาวะ
- ฝุ่นละอองมาก
- ลมพัดแรง
- ไอระเหยสารเคมี
- มีความร้อนสูง
- มีควันบุหรี่หรือควันพิษ มลภาวะดังกล่าวจะทำให้ความสบายตาลดลงขณะใส่คอนแทคเลนส์ หรือคอนแทคเลนส์อายุการใช้งานสั้นลง เป็นต้น
4. ผู้ที่อายุไม่เหมาะสม เพราะคอนแทคเลนส์จะเน้นเรื่องการดูแลรักษาทำความสะอาด ดังนั้นผู้ใช้จะต้องเข้าใจการใช้งานและข้อควรระวังในการใช้งานเป็นอย่างดี

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัถวี สมุนไพรไทย

ปัถวี (ปัด-ถะ-หวี) เป็นสูตรสมุนไพรรวมบริสุทธิ์ เพื่อบำบัดผดผื่นคัน อาการคันและตุ่มแดงจากยุง ตัวปึ่งทะเล มดหรือแมลงอื่นๆกัดต่อย ช่วยบำบัดอาการสิว ช่วยให้สิวแห้งและยุบอย่างได้ผล รวมถึงอาการผื่นแพ้ตามผิวหนังเช่น อาการแพ้เหงื่อ

กลิ่นหอมเย็นจากสมุนไพรแท้ๆของปัถวี ยังสามารถใช้สูดดมบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมได้อีกด้วย

สมุนไพรธรรมชาติสูตรปัถวี เป็นสมุนไพรประจำบ้านประจำครอบครัว สมุนไพร และว่านโบราณต่างๆในปัถวีมีความสามารถบำบัดได้หลายอาการที่เกี่ยวเนื่องกัน หรือมีลักษณะอาการในแนวทางเดียวกัน

ปัถวีใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะมีส่วนผสมบริสุทธิ์จากธรรมชาติแท้ๆ ใช้ได้ทั้งขายหญิง สูตรปัถวีจากตำนานของแท้ดั้งเดิม ต้องเป็นตราพัดโบก ที่ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าแล้วเท่านั้น

วิธีใช้: เขย่าขวดก่อนใช้ ให้ส่วนเนื้อว่าน สมุนไพรและน้ำผสมกันให้สมบูรณ์ ทาผิวหนังภายนอกได้บ่อยเท่าที่ต้องการ กรณีทาสิวอักเสบ แนะนำให้ล้างหน้าให้สะอาดก่อนแต้มสิวเพื่อให้ได้ผลดี สมุนไพรใช้เฉพาะทาภายนอกหรือสูดดม

ส่วนผสมสำคัญ: ขมิ้น ไพร การบูร เมนทอล ว่านธรรมชาติชนิดต่างๆ และน้ำบริสุทธิ์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปัถวี

สมุนไพรธรรมชาติสูตรปัถวี เป็นสมุนไพรประจำบ้านประจำครอบครัว สมุนไพร และว่านโบราณต่างๆในปัถวีมีความสามารถบำบัดได้หลายอาการที่เกี่ยวเนื่องกัน หรือมีลักษณะอาการในแนวทางเดียวกัน

ปัถวีเหมาะกับใครในโอกาสใดบ้าง ?

ผู้ใช้ทั่วไป

ในวันอากาศร้อนและเกิดผดผื่นคันตามผิวหนัง หรือผู้ที่มีอาการผดผื่นคันบนผิวหนังเป็นประจำ หรือถูกยุง มด แมลงต่างๆกัดเกิดอาการคันและมีตุ่มแดง ปัถวีจะช่วยบำบัดอาการผดผื่นคันนั้นอย่างได้ผล ใช้ปัถวีสูดดมเมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม หยิบปัถวีมาใช้ได้เสมอในโอกาสต่างๆที่ต้องการ

นักเดินทาง นักท่องเที่ยวทั่วไป

การเดินทาง หรือการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นทุ่งนา ป่าเขา ทะเล หรือในเมือง คงหลีกเลี่ยงการถูกยุง มด หรือแมลงกัดต่อยบ้างไม่ได้ สมุนไพรปัถวีช่วยบำบัดอาการคันที่เกิดขึ้นจากการโดนกัด และช่วยให้ตุ่มแดงยุบตัวได้ นับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ใช้พกติดตัวเวลาเดินทาง

ชายหญิง ที่มีอาการสิวอักเสบ

ปัถวีช่วยบำบัดให้สิวค่อยๆแห้งและยุบลงได้อย่างได้ผล แต่ด้วยความเป็นสมุนไพรธรรมชาติบริสุทธิ์ ผลการบำบัดสิวของสมุนไพรต่างๆจะต้องใช้เวลาสักเล็กน้อย จะไม่ใช่เห็นผลแบบแรงและเร็วทันใจ หายทันที อาจต้องใช้เวลาประมาณ 1 คืน หรือบางรายประมาณ 2 วัน จะเห็นผลของการแห้งและยุบตัวของสิว เพราะสมุนไพรธรรมชาติมีข้อจำกัดที่ธรรมชาติสร้างมาให้เพียงเท่านี้ จึงคาดหวังความแรงและเร็วเปรียบเทียบกับสิ่งที่มนุษย์สร้างหรือคิดค้นมาไม่ได้

การใช้ปัถวีในการทาสิว อาจมีความเหลืองของขมิ้นและไพรที่บางคนอาจจะไม่ชอบให้มีสีเหลืองติดที่ใบหน้า แต่ประโยชน์ของสีเหลืองจากขมิ้นและไพรที่เป็นส่วนผสมธรรมชาติที่สำคัญของปัถวีคือ ขมิ้นช่วยบำรุงผิวให้ผิวมีสุขภาพดี ไพรรักษาอาการอักเสบของสิว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสมุนไพรจากธรรมชาติแท้ๆที่ต้องมีลักษณะสีเช่นนั้นเมื่อใช้งาน

การใช้ปัถวีบำบัดสิว แนะนำให้ทำความสะอาดผิวหน้าก่อนใช้งาน

นักดำน้ำและนักท่องเที่ยวทางทะเล กับอาการผื่นแดงจากแมลงทะเล

ปัญหาที่พบกันทั่วไปสำหรับนักดำน้ำก็คือ อาการที่ถูกแพลงตอน ตัวปึ่งทะเล หรือแมลงทะเลชนิดต่างๆกัดต่อยเป็นผื่นแดงตรงส่วนผิวหนัง ปัถวีเป็นสมุนไพรที่คงจะเป็นสิ่งที่นักดำน้ำและนักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องการและค้นหามานาน เพราะผลของสมุนไพรธรรมชาติปัถวี สามารถบำบัดอาการดังกล่าวได้อย่างได้ผล

ผู้มีอาการผื่นแดงแพ้ตามผิวหนังเช่น อาการแพ้เหงื่อตนเอง

ปัถวีช่วยบรรเทาและบำบัดอาการเช่นนั้นได้ โดยทาต่อเนื่องติดกันประมาณ 1-2 วันจะเห็นผลของสมุนไพรปัถวี