วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของดวงตา

 นัยน์ตา หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ตามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ

ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่

1.คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
2.ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
3.หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตาและหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
4.ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้

ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่าลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา นัยน์ตาของคน มีลักษณะกลมอยู่ในเบ้าตา มีส่วนประกอบดังนี้


     1.ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะ  รบกวน การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
    2.กระจกตา (Cornea) เป็นเนื้อเยื่อโปร่งใสอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา กระจกตาทำหน้าที่รับและให้แสงผ่านเข้าไปสู่ภายใน
    3.ตาดำ คือส่วนที่เป็น ม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์ เป็นส่วนที่เป็นสีของนัยน์ตา ซึ่งอาจมีสีดำ สีน้ำตาลหรือสีฟ้า ตามเชื้อชาติ คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะที่จะผ่านไปสู่เลนส์ตา ม่านตาสามารถเปิดกว้างมากน้อยตามความสว่างของแสง ถ้าแสงสว่างมากม่านตาจะเปิดน้อย แสงสว่างน้อยม่านตาจะเปิดกว้างซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา(Pupil)
    4.พิวพิล (Pupil) เป็นสีดำอยู่ตรงกลางนัยน์ตา ซึ่่งเรียกว่า รูม่านตา พิวพิล ทำหน้าที่เป็นช่องให้แสงผ่านไปสู่เลนส์ตา
    5.แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดา มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ เป็นเลนส์นูนที่สามารถยืดหยุ่นได้เนื่องจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตา เลนส์ตาทำหน้าที่โฟกัสภาพให้ไปตกบนเรตินา
     6.จอตา หรือฉากตา (Ratina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มัลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าทั่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา ซึ่งทอดทะลุออกทาง เป็นเยื่อชั้นในสุด ทำหน้าที่เป็นจอรับภาพ จอตาประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือเซลล์รูปแท่ง (Rod cell) กับเซลล์รูปกรวย (Cone cell)
       การทำงานของเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปแท่งทำหน้าที่รับแสงทำให้มองเห็นรูปร่างของวัตถุต่างๆ ได้
       การทำงานของเซลล์รูปกรวย เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่รับสีทำให้มองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ เซลล์รูปกรวยจะทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างมาก
   7. โฟเวีย (Fovea) หรือจุดดวงเหลือง เป็นแอ่งเล็กๆ บริเวณจอตา เป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นที่สุด จึงเป็นบริเวณที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด
   8. จุดบอดแสง (Blind spot) เป็นบริเวณที่เส้นประสาทและเส้นเลือดผ่านเข้าสู่นัยน์ตาไม่มี เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยเลย ดังนั้นถ้าแสงตกบริเวณนี้เราจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นเลย
   
       วิธีหาจุดบอดแสง
       1) ใช้มือซ้ายถือกระดาษที่มีเครื่องหมายสีเหลี่ยมทางซ้ายและกากบาททางขวา
       2) เหยียดแขนออกไปจนสุด
       3) ใช้มือขวาปิดตาขวา
       4) เพ่งดูกากบาทด้วยตาซ้าย โดยไม่ชำเลืองดูเครื่องหมายสี่เหลี่ยม
       5) เลื่อนกระดาษให้ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ สังเกตเครื่องหมายว่าเปลี่ยนแปลงหรือไ

ไม่มีความคิดเห็น: